Quantcast
Channel: gum – BangkokDentalTeam.com
Viewing all articles
Browse latest Browse all 2

โรคปริทันต์ (โรคเหงือก หรือ รำมะนาด)

$
0
0

โรคเหงือก

โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน

การเกิดโรคเหงือกอักเสบมีสาเหตุมาจาก การปล่อยปละละเลยในการรักษาความสะอาดช่องปาก ทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และหินปูน เมื่อเหงือกเริ่มเกิดการอักเสบจะมีอาการแสดงให้เห็น คือ เหงือกเริ่มแดง บวม กดนิ่ม ขอบเหงือกหนาตัวมีเลือดออกได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะแปรงฟัน ในระยะแรกนี้มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่ถ้ายังไม่มีการรักษาการอักเสบที่เหงือกอาจจะเกิดลุกลามจนถึงขั้นมีการอักเสบของอวัยวะปริทันต์ มีการสูญเสียการยึดเกาะระหว่างเอ็นยึดปริทันต์กับเคลือบรากฟัน เกิดเป็นร่องลึกปริทันต์ขึ้น (Periodontal pocket) และที่สำคัญคือ มีการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟัน ฟันก็จะไม่มีอะไรยึด ในระยะนี้อาจจะเกิดฟันโยก ทำให้ฟันที่ปกติแล้วเคยเรียงตัวชิดกันดี ก็จะเริ่มห่างออกจากกัน ฟันโยกและปวด เคี้ยวอาหารไม่สะดวก กัดอาหารจะรู้สึกว่าฟันไม่แน่น เจ็บเวลาเคี้ยว มีเลือดออกจากเหงือกได้ง่าย มีกลิ่นปาก บางครั้งอาจเกิดฝี มีหนองขึ้น ในที่สุดก็ต้องถอนฟันซี่นั้นออกในที่สุด

อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคปริทันต์
1. มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
2. เหงือกบวมแดง
3. มีกลิ่นปาก
4. เหงือกร่น
5. อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
6. ฟันโยก

ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเหงือก

สาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกก็คือ คราบอาหารและหินปูน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคเหงือกอักเสบมากขึ้น เช่น ผู้สูบบุหรี่มากๆ เป็นประจำ การขาดสารอาหาร หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เช่น คนที่ลดความอ้วนไม่ถูกวิธี ผู้ที่ทานยาประเภทสเตียรอยด์ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่เป็นโรคลมชักหรือผู้ที่ทานยาคลายเครียดเป็นประจำ

ผู้หญิงในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ช่วงวัยทองหรือช่วงหมดประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์หรือมีการทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงกับการที่จะเกิดโรคเหงือกอักเสบเช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงก็ควรจะตรวจสุขภาพช่องปากเป็นระยะสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง

การรักษาและป้องกัน

การรักษาโรคเหงือกอักเสบในระยะแรก ทันตแพทย์จะกำจัดหินปูนออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นผู้ป่วยก็จะต้องดูแลรักษาความสะอาดตามที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อไม่ให้มีคราบอาหาร และหินน้ำลายเกิดขึ้นอีก ผลของการรักษาโรคเหงือกในผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นกับระยะเวลาและความรุนแรงของโรคที่เป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ เหงือกจะมีสภาพดีแข็งแรง ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้

แต่ในกรณีที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้ว หลังจากกำจัดหินปูนออกไปหมดแล้ว ก็อาจจะยังมีความผิดปกติเหลืออยู่ ปัญหาที่พบมากหลังการรักษาโรคปริทันต์ก็คือ เหงือกร่น เห็นซี่ฟันยาว ไม่สวย โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า  ซึ่งอาจจะแก้ไขได้ โดยทันตแพทย์จะทำศัลยกรรม ผ่าตัด แต่งเหงือก หรือใส่เหงือกปลอมปิดทับฟันเอาไว้

ปัญหาที่พบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีร่องเหงือกรอบฟันลึกมาก คือตั้งแต่ 4-5 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดได้ถึง เกิดการสะสมของคราบอาหารได้ง่าย เชื้อแบคทีเรียจะชอบและเจริญได้ดี เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบของเหงือกได้อีก จำเป็นต้องทำการตัดแต่งเหงือก เพื่อให้เหงือกมีลักษณะที่เอื้อให้สุขภาพดีต่อไป

นอกจากนี้ ในบางกรณีที่มีการละลายกระดูกรอบรากฟันไปมากถึงจะมีการรักษาในระยะแรกไปแล้ว ผู้ป่วยก็อาจจะมีฟันโยกอยู่ ทันตแพทย์จะต้องใส่เครื่องมือยึดฟันซี่นั้นให้อยู่กับที่ มิฉะนั้นจะเจ็บเวลาเคี้ยวอาหาร และทำให้มีการละลายของกระดูกรอบรากฟันเกิดขึ้นต่อไปอีก

Root planing

ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก
เมื่อทราบสาเหตุแล้วว่า โรคปริทันต์ ว่าเกี่ยวข้องกับการสะสมของคราบหินปูน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน(root planing) ร่วมด้วย คำว่าเกลารากฟันนี้อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ ที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้น แปลไทยเป็นไทยได้ว่า ทำผิวรากฟันให้เรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) คือการกำจัดคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟันให้หมด จนได้ผิวรากฟันที่เรียบแข็ง ช่วยให้เหงือกกลับมายึดได้ดีขึ้น

สาเหตุของโรคปริทันต์
สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นใน สภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟัน ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรด และสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่า นั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจ จะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร
อธิบายอีกนัยหนึ่ง คือ คราบเชื้อโรคเมื่อเกาะบนผิวฟันนานๆกลายเป็นคราบหินปูน เมื่อมีคราบหินปูนก็เป็นที่สะสมของคราบเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น เมื่อคราบหินปูนและแบคที่เรียสะสมมากขึ้นและนานขึ้น จะเพิ่มปริมาณลึกลงไปใต้ขอบเหงือก ทำให้การอักเสบลุกลามลงไปยังอวัยวะปริทันต์ทั้งหมด จึงเกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ตามมา

Healthy Gum

จะเห็นได้ว่าการเกิดโรคเหงือกอักเสบนั้นป้องกันได้ง่ายๆ โดยดูแลรักษาความสะอาดของเหงือกและฟันให้ดี และหากเกิดโรคแล้ว ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกๆ การรักษาโรคเหงือกก็จะไม่ยุ่งยาก ผลการรักษาจะออกมาดี ฉะนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตว่า เหงือกของเราแข็งแรง มีสุขภาพดีอยู่หรือไม่ หากพบความผิดปกติก็ควรไปพบทันตแพทย์เสียแต่เนิ่นๆจะดีกว่าค่ะ

Crown Lengthening and Cosmetic Treatment

Crown Lengthening and Cosmetic Treatment

ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน

การผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน โดยปกติจะทำกับฟันหน้า การเพิ่มความสูงของตัวฟัน เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟันหรือเคลือบผิวฟันเพื่อความสวยงาม ไม่ยาก ไม่นานค่ะ (แต่ส่วนใหญ่ต้องฉีดยาชาก่อนนะคะ) ใช้เวลาแค่1 ชั่วโมง สามารถทำศัลยกรรมได้ง่ายมากค่ะ กลับบ้านได้เลยไม่ต้องพักต่อที่คลินิกค่ะ


Viewing all articles
Browse latest Browse all 2

Trending Articles